top of page
Search

🎮👾 ลูกติดเกม...พ่อแม่ช่วยได้

Updated: Feb 24, 2023

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจมีคำถามถึงสาเหตุที่ทำให้ลูกติดเกม พฤติกรรมติดเกมสามารถเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เด็กมีโอกาสรู้จักและเข้าไปสัมผัสกับเกม ไม่ว่าจะเป็นเกมจากโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์



สัญญาณของการเริ่มติดเกมคือ เด็กจะใช้เวลาหมกมุ่นอยู่กับเกมโดยไม่รู้เวลาหรือมากกว่าที่ตั้งใจไม่สามารถควบคุมตนเองให้เลิกเล่นได้

เมื่อผู้ปกครองบอกให้หยุดเล่นเกมก็จะแสดงอาการหงุดหงิด บางครั้งถึงกับอาละวาท ก้าวร้าว ทำให้ส่งผลกระทบต่อร่างกาย การเรียน สัมพันธภาพกับคนรอบข้าง


สิ่งสำคัญที่ทำให้เด็กติดเกม


ตัวเด็ก

เด็กที่มีโอกาสเสี่ยงในการติดเกมได้มาก เช่น ในเด็กที่มีภาวะสมาธิสั้น มีความอดทนน้อย ขาดการควบคุมตนเอง ในเด็กที่มีปัญหาอารมณ์ซึมเศร้า เครียด อาจใช้เกมเพื่อช่วยคลายเครียด สร้างความสุข เด็กที่ขาดความภาคภูมิใจในตนเอง ขาดทักษะทางสังคม หรือมีปัญหาการเรียน อาจใช้เกมเป็นสิ่งที่ทำให้เพิ่มความสามารถและได้รับการยอมรับในสังคมได้


ครอบครัว

สิ่งสำคัญคือการเลี้ยงดูที่ขาดระเบียบวินัย กฎกติกา หรือตามใจเด็กมากเกินไป ทำให้เด็กขาดการควบคุมตัวเองในการเล่นเกม ปัญหาความสัมพันธ์ในครอบครัวทั้งความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับพ่อแม่ ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เด็กเกิดความเครียดได้ บางครอบครัวใช้อารมณ์กับลูกหรือไม่มีเวลาให้เด็ก ขาดการทำกิจกรรมที่สนุกสนาน ทำให้เด็กเกิดความเหงา ความเบื่อหน่าย เด็กจึงต้องหากิจกรรมอื่นเพื่อทำให้ตัวเองสนุก ซึ่งก็คือการเล่นเกม


สิ่งแวดล้อม

ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เด็กเข้าถึงเกมได้ง่าย เช่น การที่พ่อแม่หยิบยื่นอุปกรณ์ที่ทำให้เด็กเข้าถึงเกมมากเกินไป ในสังคมมีกลุ่มเพื่อนที่มีการพูดคุยเรื่องเกม โรงเรียน หรือบ้านที่ตั้งอยู่ใกล้ร้านเกมก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เด็กติดเกมได้ง่ายขึ้น


พฤติกรรมแบบไหนที่เข้าข่ายเด็กติดเกม

เล่นเกมมากจนรบกวนกิจกรรมอื่นในชีวิตประจำวัน

ในความคิดจะวกวนอยู่กับเรื่องเกม แม้ในขณะที่ทำกิจกรรมอื่นอยู่

ไม่มีแก่จิตแก่ใจจะทำอย่างอื่นนอกจากเล่นเกม

มีความรู้สึกอยากเล่นเกมอยู่ตลอดเวลา

หากมีสิ่งที่มาขัดขวางการเล่นเกมจะรู้สึกหงุดหงิด ฉุนเฉียว

มีความกระวนกระวาย กระสับกระส่าย หากไม่ได้เล่นเกม

ไม่มีการแบ่งเวลา บางรายโดดเรียนไปเล่นเกม หรือไม่ยอมนอนเพราะมัวแต่เล่นเกม รวมถึงไม่กินข้าวตามเวลา ไม่ออกไปสังสรรค์กับเพื่อน เป็นต้น


กิจกรรมในครอบครัวเป็นยารักษาได้

ควบคุมเวลาให้เล่นเกมอย่างเหมาะสม

คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกเกมที่ไม่มีความรุนแรง และส่งเสริมให้มีการพัฒนาทักษะทางความคิด

สนับสนุนกิจกรรมทดแทนการเล่นเกม อาทิ ดนตรี ศิลปะ หรือกิจกรรมร่วมกันในครอบครัว

คุณพ่อแม่ควรมีเวลาอยู่กับเด็กมากขึ้น พาออกนอกบ้าน เพื่อไปทำกิจกรรมที่เด็กชอบ


ปัญหาเด็กติดเกมนั้นสามารถป้องกันและแก้ไขได้ซึ่งผู้ปกครองต้องใช้ความเข้าใจและความอดทน โดยไม่ว่าเด็กจะใช้เทคโนโลยีอะไรก็ควรให้คำแนะนำและดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะนอกจากเทคโนโลยีจะมีประโยชน์แล้ว หากใช้ไม่เหมาะสม ก็ให้โทษได้เช่นกันค่ะ


.

👨‍👩‍👦ชวนกันมาช่วยน้องให้ดีขึ้นทุกสัปดาห์ที่เรียนด้วยกันนะคะ

.

.

👨‍👩‍👦คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง สนใจให้เราดูแลพัฒนาการของลูกน้อย โดยผู้เชี่ยวชาญ ติดต่อสอบถามได้นะคะ บ้านครูภู่ของเรายินดีดูแลด้วยใจค่ะ

.

.

บ้านครูภู่: ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการดูแลส่งเสริมพัฒนาการเด็กยาวนานกว่า 10 ปี

.

.

😧หากลูกติดปัญหาเหล่านี้มาหาเรานะคะ : ไม่พูด ไม่มองหน้า ไม่สบตา ไม่ชี้ชวน เล่นคนเดียว  ต่อต้าน รอคอยไม่ได้ ไม่มีสมาธิ ทำงานไม่สำเร็จ อดทนต่ำ หงุดหงิดง่าย  โมโหร้าย😡 พฤติกรรมที่แสดงออกต่อผู้อื่นไม่เหมาะสม แกล้งคนอื่น ไม่รับรู้อารมณ์ความรู้สึกคนอื่น ไม่ฟังคำสั่ง เอาแต่ใจ ไม่ยืดหยุ่น เล่นแรง ไม่แบ่งของ แย่งของ Baan Khu Phu บ้านครูภู่ ยินดีให้คำปรึกษาและการดูแลทั้งเด็กและครอบครัว แล้วคุณพ่อคุณแม่จะไม่เดินลำพัง เราจะจับมือไปด้วยกัน😊

.

.

ปรึกษาและติดต่อสอบถามได้ทาง      


1. Inbox      


2. Tel 093-555-2649 (ครูภู่)    


   3. Line OA : @baankhuphu

หรือคลิกลิงก์ https://lin.ee/z6AjDhC

.

.

#บ้านครูภู่



#พูดช้า #ไม่พูด #ภาษาการ์ตูน


#ออทิสติก #autistic #ASD


#พัฒนาการช้ารอบด้าน #GDD #ไม่เขียน


#Selfesteem #ทักษะทางสังคม


#game #boardgame #บอร์ดเกม #เกมสลับตา


#แก้ปัญหาติดจอ #ลดพฤติกรรมก้าวร้าว #ขาดสมาธ


#ทำงานไม่สำเร็จไม่จดจ่องาน

103 views0 comments

コメント


bottom of page