จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคร้ายนั้น ส่งผลให้หลายโรงเรียนต้องเลื่อนเปิดเทอม จึงทำให้เด็กๆ ต้องใช้เวลาอยู่ที่บ้านนานขึ้นขณะเดียวกันผู้ปกครองบางท่านก็ต้องทำงานจากที่บ้าน หรือ Work from home ฉะนั้น ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักปล่อยให้เด็กๆ อยู่กับหน้าจอ หรือสื่อออนไลน์ อาทิ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต โดยใช้เป็นเครื่องมือรับมือลูกๆ แท้จริงแล้วเครื่องมือเหล่านี้เหมาะสมกับเด็กจริงหรือ และสามารถใช้เพื่อสร้างการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลได้อย่างไร
1. ผลเสียที่คาดไม่ถึง หากใช้สื่อออนไลน์มากเกินไป
ถึงแม้สื่อออนไลน์จะสามารถช่วยเสริมทักษะทางด้านภาษาของเด็กได้จริง แต่การใช้สื่อออนไลน์ที่มากเกินไปก็จะทำให้ทักษะทางด้านภาษาของเด็กลดลงเช่นกัน สิ่งสำคัญคือการที่ครูและผู้ปกครองมีความเข้าใจตรงกันว่า การปล่อยให้เด็กอยู่กับหน้าจอที่นานเกินไปจะไม่ช่วยเสริมทักษะของเด็ก โดยเฉพาะการที่รัฐบาลประกาศปิดโรงเรียนส่งผลให้เด็กหลายล้านคนต้องหันมาเรียนผ่านสื่อออนไลน์
2. เด็กเล็กออนไลน์ไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยมีผู้ปกครองดูแล
เด็กอายุระหว่าง 2-5 ปี ควรใช้สื่อออนไลน์ โดยมีผู้ปกครองคอยกำกับและอธิบายเพื่อให้เด็กเข้าใจเนื้อหานั้นๆ และเด็กไม่ควรใช้เวลาเกิน 1 ชั่วโมงต่อวันในการเรียนรู้ผ่านโปรแกรมออนไลน์ต่างๆ การที่ปล่อยให้เด็กใช้แท็บเล็ตมากเกินไปอาจไม่ใช่วิธีการที่เหมาะสมเสมอไป ดังนั้นเมื่อเด็กต้องอยู่ที่บ้าน ครูควรสื่อสารตารางเรียน และตารางชีวิตให้กับผู้ปกครองโดยวางแนวทางกิจกรรมของเด็กๆ และให้ผู้ปกครองเตรียมอุปกรณ์ให้เด็กลงมือทำกิจกรรมนั้นโดยมีผู้ปกครองดูแล
3. 6 ขวบขึ้นไป ดูแลอย่างใกล้ชิด สมดุลทั้งทางกายและออนไลน์
สำหรับเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไป แนะนำว่าครูและผู้ปกครองควรกำหนดเวลาสูงสุดเองโดยไม่กระทบต่อกิจกรรมที่เสริมทักษะของเด็กวัยนี้ อาทิ การพักผ่อนและการออกกำลังกาย ที่ต้องเปิดโอกาสให้เขาได้เคลื่อนไหวร่างกาย เล่นกลางแจ้งให้มากกว่าการเล่นผ่านหน้าจอหรือเทคโนโลยี ซึ่งวัยนี้ถือว่าเป็นวัยที่มีทักษะการเรียนรู้ที่มากขึ้น โดยเขาสามารถเรียนรู้สื่อและอุปกรณ์ต่างๆได้ โดยปัจจุบันมีช่องต่าง ๆ ให้เลือกเพื่อใช้เสริมทักษะมากมาย แต่ทว่าต้องอาศัยผู้ปกครองในการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการเสริมพัฒนาการและทักษะของเด็กด้วย
หากผู้ปกครองต้องรับมือกับเด็กๆ ในช่วงปิดภาคเรียนอันแสนยาวนี้ ควรคำนึงถึงความเหมาะสมและสมดุลระหว่างการใช้สื่อเทคโนโลยีและการทำกิจกรรมภายใต้การดูแลของท่าน โดยการเปิดโอกาสให้เขาได้เรียนรู้อย่างพอเหมาะพอควรกับช่วงวัยจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเรียนรู้ของเด็กในยุคดิจิทัล
.
👨👩👦ชวนกันมาช่วยน้องให้ดีขึ้นทุกสัปดาห์ที่เรียนด้วยกันนะคะ
.
.
👨👩👦คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง สนใจให้เราดูแลพัฒนาการของลูกน้อย โดยผู้เชี่ยวชาญ ติดต่อสอบถามได้นะคะ บ้านครูภู่ของเรายินดีดูแลด้วยใจค่ะ
.
.
บ้านครูภู่: ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการดูแลส่งเสริมพัฒนาการเด็กยาวนานกว่า 10 ปี
.
.
😧หากลูกติดปัญหาเหล่านี้มาหาเรานะคะ : ไม่พูด ไม่มองหน้า ไม่สบตา ไม่ชี้ชวน เล่นคนเดียว ต่อต้าน รอคอยไม่ได้ ไม่มีสมาธิ ทำงานไม่สำเร็จ อดทนต่ำ หงุดหงิดง่าย โมโหร้าย😡 พฤติกรรมที่แสดงออกต่อผู้อื่นไม่เหมาะสม แกล้งคนอื่น ไม่รับรู้อารมณ์ความรู้สึกคนอื่น ไม่ฟังคำสั่ง เอาแต่ใจ ไม่ยืดหยุ่น เล่นแรง ไม่แบ่งของ แย่งของ Baan Khu Phu บ้านครูภู่ ยินดีให้คำปรึกษาและการดูแลทั้งเด็กและครอบครัว แล้วคุณพ่อคุณแม่จะไม่เดินลำพัง เราจะจับมือไปด้วยกัน😊
.
.
ปรึกษาและติดต่อสอบถามได้ทาง
1. Inbox
2. Tel 093-555-2649 (ครูภู่)
3. Line OA : @baankhuphuหรือคลิกลิงก์https://lin.ee/z6AjDhC
.
.
#บ้านครูภู่
#Selfesteem #ทักษะทางสังคม
#game #boardgame #บอร์ดเกม #เกมสลับตา
#ทำงานไม่สำเร็จไม่จดจ่องาน
Comentarios