top of page
Search

4คำถามก่อนลูกคุณจะติดเกมส์

Updated: Feb 24, 2023


พูดถึงเรื่องติดเกม เราอาจจะมองไปถึงคนสุดท้ายในเรื่องเลยก็คือ "เด็ก" ที่นั่งเล่นเกมนานๆหรือเด็กติดเกมไปแล้ว

.

.

แต่สิ่งแรกที่ควรนึกถึงและสำคัญอย่างยิ่ง นั่นคือ ครอบครัว คนในบ้าน ผู้ปกครอง คุณพ่อ คุณแม่

ในการดูแลเด็ก ก่อนที่เด็กจะเข้าสู่การเล่นเกมส์และสุดท้ายมีการติดเกมส์และนำไปสู่การติดเพื่อนต่อไป

.

.

หลายบ้านเด็กสามารถดำเนินชีวิตได้ปกติเล่นทำกิจกรรมหรือทำสิ่งต่างๆโดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยเกมส์จากมือถือ จากคอมพิวเตอร์

.

.

เพราะเด็กกลุ่มนี้ “มีความสุขที่เพียงพอ” จากการอยู่กับครอบครัว

.

.

ขอขยายความ ของคำว่า "มีความสุขที่เพียงพอ" .

เกิดจากอะไรได้บ้าง เกิดจาก การสื่อสาร การพูดคุยกันระหว่างคนในครอบครัว การทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างพ่อแม่ลูก

.

.

อย่าลืมว่า…... . .

“เด็กๆ ทุกคน จะรอคอยพ่อแม่กลับบ้านเสมอ”

.

.

เข้าใจว่าบทบาทความเป็นพ่อเป็นแม่นั้น ไม่ได้แค่เลี้ยงดู อบรมลูกเพียงอย่างเดียว ต้องทำงานหาเลี้ยงดูแลคนในบ้าน พอกลับถึงบ้านอาจเหนื่อยล้าจากภาระงานเกินกว่าที่จะทำกิจกรรมต่างๆ กับลูกต่อได้

.

.

เมื่อกลับถึงบ้าน มาเจอว่าลูกอยู่กับมือถือ ลูกดูการ์ตูน ประโยคแรกที่เราคุยกับลูกคือประโยคแบบไหน?

.

.

ความเกรี้ยวกราดที่เกิดขึ้น การตำหนิว่ากล่าวตักเตือน เมื่อเกิดความไม่พอใจ มักจะแสดงอารมณ์หงุดหงิดใส่ลูก เพื่อให้ลูกรู้สึกผิดว่า ลูกทำไม่ถูกต้องและความคาดหวังว่าครั้งถัดไป วันถัดไป ลูกจะไม่มีพฤติกรรมนี้อีก

.

.

แต่นั่นไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนเพราะเด็กก็จะรู้สึกว่า “ตัวเองถูกต่อว่า ถูกตำหนิ ทำอะไรก็ไม่ถูกใจ ทำอะไรก็ถูกต่อว่าเสมอ” อาจส่งผลต่อการขาดความมั่นใจ ไม่กล้าพูดหรือปรึกษาพ่อแม่ในเรื่องต่างๆได้

.

.

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรแก้ไข คือ พ่อแม่ควรเปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนทัศนคติของเด็กที่มีต่อเกมส์

.

.

ว่าการเล่นเกมส์มีหลากหลาย ไม่ใช่เพียงการเล่นคนเดียว หรือลำพัง แต่สามารถเล่นเกมส์สนุกกับพ่อแม่ และพี่น้องในครอบครัวได้

.

.

หรือในส่วนเด็กโตที่ต้องการปรึกษาปัญหาการเล่นเกมส์กับพ่อแม่ เช่น

.

.

"วันนี้ผมเล่นเกมส์กับเพื่อนแล้วเพื่อนแกล้ง" "หรือพูดจาแบบนี้จะทำอย่างไร?" แก้ปัญหากันอย่างไร?

.

.

หรือวันนี้ผมได้ของจากเกมส์ที่เท่มาก และหายากครับ อยากให้คุณพ่อคุณแม่รับฟังลูกก่อนทั้งเรื่องความดีใจและการจัดการแก้ไขที่เหมาะสม

.

.

นอกจากลดความตึงเครียด ยังสามารถแนะนำการพูดคุย การแก้ปัญหาที่เหมาะสมให้ลูก รวมทั้งเมื่อคุณพ่อคุณแม่ขอความร่วมมือจะง่ายต่อการต่อรอง

.

.

เพื่อลดช่องว่างระหว่างเด็กและครอบครัว ลดความไม่เข้าใจกัน ทำให้ลูกกล้าคุยเรื่องเกมส์ คุยเรื่องเพื่อนมากขึ้น ลดการดื้อไม่ฟังพ่อแม่

.

.

หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกเข้าหา พูดคุย สร้างสัมพันธภาพที่ดี

.

.

"ควรรับฟังให้มีทางออกร่วมกันระหว่าง เกมส์ การเรียน กิจกรรมความรับผิดชอบที่เหมาะสม"

.

.

ซึ่งเราขอยกตัวอย่าง 4 คำถามก่อนลูกจะติดเกมส์ ดังนี้

.

.

1.เราใส่ใจลูกจริงๆหรือไม่ ?

.

สังเกตจากการพูดคุยกันว่า รู้ไหมว่าเพื่อนสนิทของลูกเราชื่ออะไร ลูกชอบการ์ตูนตัวไหน ลูกเราชอบเที่ยวไหน ภูเขาหรือทะเล พูดถึงครูคนไหนหรือเพื่อนคนไหนบ่อยๆ ลูกกลัวครูหรือเพื่อนคนไหน เพราะอะไร

.

.

2. เวลาคุณภาพระหว่างพ่อแม่และตัวเด็ก

.

ข้อนี้พ่อแม่ต้องเตรียมตัวเลยว่า ในหนึ่งอาทิตย์จะมีซักวันที่เราตั้งเป้าหมายจะเล่นกันกับลูก โดยเราจะไม่เหนื่อยเกินไป เสมือนเราเตรียมตัวไปพบลูกค้าตอนค่ำ ฟังลูกค้าพูด มีกิจกรรมร่วมกัน แค่คิดว่าลูกค้าคนนั้นเป็นลูกเรา เพื่อให้เราเก็บแรงและพลังมาทำกิจกรรมร่วมกับลูก

.

.

3. การมีกิจกรรมร่วมกันความรับผิดชอบ หรือ ภาระ?

.

กิจกรรมที่มีเสมอในการเรียนออนไลน์ นั่นคือ การบ้าน จากทางโรงเรียน ดังนั้น การใส่ใจการบ้าน และกิจกรรมของลูกประจำวันที่ครูหมอบหมาย เป็นอีกกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกับลูกได้ เพื่อแสดงถึงความรับผิดชอบต่องานในการส่งครบเรียบร้อย และเพิ่มทักษะการมีความรับผิดชอบให้กับเด็ก และ ยังรู้ด้วยว่าลูกเราถนัดวิชาไหน

.

.

4. ความสนุกสนานระหว่างสิ่งที่ลูกชอบและพ่อแม่เข้าไป enjoy

.

ด้วยการเพิ่มทักษะต่อยอดจากเกมส์หรือกิจกรรมหรือการ์ตูนที่เด็กชอบ เช่น การวาดภาพระบายสี การระบายสีตัวการ์ตูน การแต่งตัวคล้ายกับการ์ตูนตัวนั้นที่เด็กชอบในเรื่องที่สนใจ หรือการดัดแปลงสิ่งต่างในบ้านให้เป็นของเล่นยังลดค่าใช้จ่ายและเกิดความคิดสร้างสรรค์อีกด้วย

.

.

ชวนกันมาช่วยน้องให้ดีขึ้นทุกสัปดาห์ที่เรียนด้วยกันนะคะ

.

.

👨‍👩‍👦คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง สนใจให้เราดูแลพัฒนาการของลูกน้อย โดยผู้เชี่ยวชาญ ติดต่อสอบถามได้นะคะ บ้านครูภู่ของเรายินดีดูแลด้วยใจค่ะ

.

.

บ้านครูภู่: ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการดูแลส่งเสริมพัฒนาการเด็กยาวนานกว่า 10 ปี

.

.

😧หากลูกติดปัญหาเหล่านี้มาหาเรานะคะ : ไม่พูด ไม่มองหน้า ไม่สบตา ไม่ชี้ชวน เล่นคนเดียว  ต่อต้าน รอคอยไม่ได้ ไม่มีสมาธิ ทำงานไม่สำเร็จ อดทนต่ำ หงุดหงิดง่าย  โมโหร้าย😡 พฤติกรรมที่แสดงออกต่อผู้อื่นไม่เหมาะสม แกล้งคนอื่น ไม่รับรู้อารมณ์ความรู้สึกคนอื่น ไม่ฟังคำสั่ง เอาแต่ใจ ไม่ยืดหยุ่น เล่นแรง ไม่แบ่งของ แย่งของ Baan Khu Phu บ้านครูภู่ ยินดีให้คำปรึกษาและการดูแลทั้งเด็กและครอบครัว แล้วคุณพ่อคุณแม่จะไม่เดินลำพัง เราจะจับมือไปด้วยกัน😊

.

.

ปรึกษาและติดต่อสอบถามได้ทาง      


1. Inbox      


2. Tel 093-555-2649 (ครูภู่)    


   3. Line OA : @baankhuphu

หรือคลิกลิงก์ https://lin.ee/z6AjDhC

.

.

#บ้านครูภู่


#สมาธิสั้น #ADHD #รอคอย #ติดเกม


#พูดช้า #ไม่พูด #ภาษาการ์ตูน


#ออทิสติก #autistic #ASD


#พัฒนาการช้ารอบด้าน #GDD #ไม่เขียน


#Selfesteem #ทักษะทางสังคม


#game #boardgame #บอร์ดเกม #เกมสลับตา


#แก้ปัญหาติดจอ #ลดพฤติกรรมก้าวร้าว #ขาดสมาธ


#ทำงานไม่สำเร็จไม่จดจ่องาน

191 views0 comments
bottom of page