top of page
Search

ออทิสติก-->ลูกจะหายไหม?

Updated: Apr 2



คำถามที่มักพบบ่อย คือ "ส่งเสริมพัฒนาการแล้วนะ ทำตามที่แนะนำไป น้องยังไม่หายเลย ดีขึ้นนิดเดียว ยังไม่พูดเลย ลูกจะหายจากออทิสติกไหมค่ะ ครูภู่"

.

.

ต้องทำความเข้าใจ ในภาวะออทิสติกกันก่อนค่ะ เด็กมักมีลักษณะปิดกั้นตัวเองจากสังคม จากพ่อแม่/ผู้ปกครองหรือคนรอบข้าง แม้ว่าพ่อแม่/ผู้ปกครองพยายามส่งเสริมพัฒนาการซ้ำๆ แล้ว เด็กยังไม่ตอบสนอง ไม่ตอบโต้กลับมา ไม่สามารถบอกได้ว่าเด็กได้ยินหรือเข้าใจหรือไม่

.

.

ภาวะออทิสติกนั้น เด็กมักแยกตัว อยู่กับตัวเอง เล่นกับตัวเอง แต่ไม่มีเป้าหมาย เล่นเสียงแต่ไม่สื่อความหมายชัดเจนเพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจว่าเล่นอะไรหรือทำอะไร เมื่อมีคนเข้าไปแทรก เข้าไปเล่นด้วย บางคนอาจมีพฤติกรรมกรีดร้อง ร้องไห้ เดินหนีหรือไปอยู่มุมของตัวเอง ไม่ต้องให้การให้ใครเข้ามายุ่ง

.

.

เมื่อเด็กแยกตัวบ่อยๆ แยกตัวซ้ำๆ ปิดกั้นตัวเองสม่ำเสมอ เป็นเวลายาวนาน จนถึงวัยที่เด็กจะต้องช่วยเหลือตัวเองหรือมีศักยภาพตามวัย เด็กจะบกพร่องด้านนั้นๆ ไม่สามารถที่จะทำได้เหมาะสมตามวัย

.

.

เมื่อเรารู้แล้วว่าเด็กมักแยกตัว ปฏิเสธ ต่อต้าน สิ่งที่ยากในการที่จะทำให้เด็กมีศักยภาพขึ้นมาได้ เด็กต้องลดการต่อต้านบุคคลคนนั้นๆ ลงก่อน เด็กต้องเริ่มสนใจบุคคลอื่น เริ่มฟัง นิ่งขึ้น หยุด และรอได้ ผู้ดูแลเด็กต้องสามารถเปิดใจให้เด็กรู้สึกว่า ปลอดภัย พร้อมที่จะทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันหรือทำตามคำสั่ง

.

.

จะเห็นได้ว่าในกลุ่มเด็กออทิสติกนั้น "สิ่งสำคัญ" คือ การสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ดูแลกับเด็ก

.

.

ความถี่ และความต่อเนื่องในการมากระตุ้นพัฒนาการ คุณพ่อคุณแม่ บางท่าน เล่าให้ฟังว่าไปกระตุ้นพัฒนาการน้องมานานต่อเนื่องมา 2-3 ปี ยังรู้สึกว่าลูกไม่ดีขึ้นเท่าที่ควร อยากให้น้องดีกว่านี้ เมื่อซักประวัติเพิ่มถึงจำนวนครั้ง และต่อเนื่อง ส่วนใหญ่จะได้คำตอบว่า เดือนละครั้ง (ใช่ครับ อาจด้วยปัจจัยที่ว่า ผู้บำบัดรักษา/ครูจำเด็กไม่ได้ หรือเด็กจำครูไม่ได้ ความถี่และความสม่ำเสมอในการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการไม่เพียงพอ ที่จะสร้างสัมพันธภาพที่ดีได้)

.

.

อีกปัจจัยที่ทำไห้การนัดคิวได้เดือนละครั้ง มักพบว่า คิวผู้บำบัดรักษาค่อนข้างแน่นและเต็มในทุกๆวัน จากจำนวนเคสที่เพิ่มขึ้นทั้งเคสเก่าและเคสใหม่

.

.

ความถี่ที่เหมาะสม คือ 1-2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ ครั้งละ 1 ชั่วโมง กับครู/ผู้บำบัดรักษาท่านเดิม เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ดูแลกับเด็ก

.

.

โดยตัวชี้วัดว่า เด็กเริ่มดีขึ้น คือ อยากไปทำกิจกรรมกับผู้ดูแลท่านนี้/หรือครูคนนี้ ไม่กลัวผู้บำบัดรักษาหรือครูกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการแล้ว หลังจากเจอกัน 3-4 ครั้ง

.

.

หากยังพบว่าการไปกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการนั้นยังไม่ดีขึ้น หรือยังไม่เห็นผลดีขึ้นเท่าที่แม่คาดหวังเลย แม่ท้อมาก... (ท้อแต่อย่าเพิ่งถอยนะครับ ถ้าเราไม่ช่วย น้องอาจไม่ได้รับการพัฒนาเลย เรามาช่วยกันพัฒนาน้องกัน)

.

ออทิสติก หลังประเมินและค้นหาสาเหตุแล้ว เมื่อมองเห็นปัญหาได้ชัดเจน ควรลงมือแก้ไขให้รวดเร็วและต่อเนื่อง เนื่องจากความรุนแรงของโรคในแต่ละคนไม่เท่ากัน หากมีอาการมากมีความจำเป็นที่ต้องใช้เวลานานขึ้นและความถี่อาจจะมากกว่า และมีความจำเป็นอย่างสูงที่ครอบครัวจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาร่วมกันกับผู้ดูแลหรือผู้บำบัด

.

หากความเข้าใจที่มองว่า ไม่เป็นไรเดี๋ยวโตขึ้นอีกหน่อยเด็กก็จะหายเอง หรือ พอเด็กเข้าโรงเรียนเด็กก็จะดีขึ้นเด็กก็จะพูดได้ เด็กก็จะปรับตัวเข้ากับสังคมและโรงเรียนได้เอง เด็กก็เป็นแบบนี้แหละไม่ค่อยได้เจอใครเดี๋ยวพอเจอคนอื่นเขาก็จะดีขึ้นและหายได้เอง ซึ่งก่อนจะตัดสินใจเรื่องนี้ควรไปประเมินไปพบแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะสนับสนุนแนวคิดนี้นะคะ เพราะอาจเป็นการตัดโอกาสในการพัฒนาน้อง แทนที่จะพาน้องไปได้ไกลกว่านี้ หรือ น้องมีพัฒนาการที่ดีขึ้น แต่กลับต้องหยุดอยู่กับที่ หรือ ไม่ได้รับการพัฒนาที่ถูกต้อง จนปล่อยเวลาผ่านไป ถ้าใจนึงเราคิดว่าอาจจะจริงที่เด็กไปโรงเรียนหรือการเข้าสังคมจะทำให้เด็กหายและกลับมาปกติได้เหมือนเด็กทั่วๆไป (อาจเสียเวลา และเสียโอกาส..สิ่งนี้สำคัญมาก)

.

เด็กออทิสติกมีความจำกัดในการเรียนรู้ เด็กไม่ได้เปิดใจได้กับทุกๆคนหรือกับทุกเรื่อง ดังนั้นอยากให้ผู้ปกครองตระหนักและให้ความสำคัญต่อพัฒนาการลูกน้อย เพราะเวลาแต่ละช่วงปีมีความสำคัญ และแต่ละปีเวลาก็เร็วเช่นกัน จะเห็นว่าแป๊บๆ ลูก 1 ขวบ 2 ขวบ 3 ขวบแล้ว บางทีเราเองก็แทบไม่ทันสังเกต ว่าช่วงนี้ลูกควรทำอะไรได้บ้าง

.

ดังนั้นผู้ที่มีความรู้มีความเชี่ยวชาญในเด็กออทิสติก ยังมีความสำคัญในการแก้ไขค่ะ

.

.

👨‍👩‍👦ชวนกันมาช่วยน้องให้ดีขึ้นทุกสัปดาห์ที่เรียนด้วยกันนะคะ

.

.

👨‍👩‍👦คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง สนใจให้เราดูแลพัฒนาการของลูกน้อย โดยผู้เชี่ยวชาญ ติดต่อสอบถามได้นะคะ บ้านครูภู่ของเรายินดีดูแลด้วยใจค่ะ

.

.

🏡บ้านครูภู่: ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการดูแลส่งเสริมพัฒนาการเด็กยาวนานกว่า 10 ปี

.

.

😧หากลูกติดปัญหาเหล่านี้มาหาเรานะคะ : ไม่พูด ไม่มองหน้า ไม่สบตา ไม่ชี้ชวน เล่นคนเดียว  ต่อต้าน รอคอยไม่ได้ ไม่มีสมาธิ ทำงานไม่สำเร็จ อดทนต่ำ หงุดหงิดง่าย  โมโหร้าย😡 พฤติกรรมที่แสดงออกต่อผู้อื่นไม่เหมาะสม แกล้งคนอื่น ไม่รับรู้อารมณ์ความรู้สึกคนอื่น ไม่ฟังคำสั่ง เอาแต่ใจ ไม่ยืดหยุ่น เล่นแรง ไม่แบ่งของ แย่งของ Baan Khu Phu บ้านครูภู่ ยินดีให้คำปรึกษาและการดูแลทั้งเด็กและครอบครัว แล้วคุณพ่อคุณแม่จะไม่เดินลำพัง เราจะจับมือไปด้วยกัน😊

.

ปรึกษาและติดต่อสอบถามได้ทาง      


1. Inbox      


2. Tel 093-555-2649 (ครูภู่)    


   3. Line OA : @baankhuphu

หรือคลิกลิงก์ https://lin.ee/z6AjDhC


เข้าไปฟังคลิป ช่อง บ้านครูภ่ นี้นะคะ






.

#บ้านครูภู่

#พูดช้า #ไม่พูด #ภาษาการ์ตูน

#ออทิสติก #autistic #ASD

#พัฒนาการช้ารอบด้าน #GDD #ไม่เขียน

#Selfesteem #ทักษะทางสังคม

#game #boardgame #บอร์ดเกม #เกมสลับตา

#แก้ปัญหาติดจอ #ลดพฤติกรรมก้าวร้าว #ขาดสมาธ

#ทำงานไม่สำเร็จไม่จดจ่องาน

51,705 views0 comments
bottom of page