top of page
Search

สมาธิสั้น-->ลูกจะหายไหม?

Updated: Feb 24, 2023


คุณแม่ถาม ครูภู่ตอบ


ตอนนี้ ลูกอนุบาล 2 พูดบอกความต้องการได้ เรียกพ่อ แม่ได้ เล่นกับเพื่อนพอได้ แต่ เล่นแรงมาก ทำให้พ่อแม่ของเด็กคนอื่นๆ แจ้งครูว่า ไม่อยากให้เล่นกับลูกเรา ครูที่โรงเรียนบอกว่าน้องใจร้อนมากค่ะ รอคอยไม่ได้ ซน ไม่นิ่ง วิ่งไปมา ทำอะไรไม่จดจ่อ ทำให้รบกวนเพื่อนในห้อง เมื่อถูกขัดใจ จะร้องกรี้ดสุดเสียง ร้องไห้ ทิ้งตัว มีขว้างปาของ บางครั้งทำทุบทำลายของเสียหาย บอกซ้ำๆ บ่อยๆ มักมีเหตุการณ์เดิมซ้ำๆ พาไปหาหมอ หมอตรวจและแจ้งว่าลูกเป็นสมาธิสั้น ทางโรงเรียนอยากให้คุณแม่พาน้องไปรักษาให้ใจเย็นกว่านี้ ฟังคำสั่งได้มากกว่านี้ ต้องแก้ไขเพิ่มเติมอย่างไรบ้างคะ เพื่อให้ลูกควบคุมตัวเองได้ อาการก้าวร้าวเมื่อขัดใจลดลง

. .

วันนี้บ้านครูภู่มีคำแนะนำมาฝากค่ะ

หลังจากที่ผ่านกระบวนการตรวจวินิจฉัย ประเมินผลต่างๆ จากคุณหมอ และสรุปแล้วว่าลูกเป็นสมาธิสั้น จากนั้นพ่อแม่ควรทำความเข้าใจและร่วมมือกันแก้ไขพฤติกรรมของลูกที่เป็นสมาธิสั้นเพื่อให้ลูกสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

. .

ก่อนจะถึงการบรรลุเป้าหมายนั้น ต้องเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากอาการสมาธิสั้นในเด็กก่อน ในเด็กกลุ่มอาการนี้ จะมีสติปัญญาปกติ สามารถพูดบอกความต้องการได้ เรียกพ่อแม่ได้ ฟังคำสั่งสั้นๆได้บ้าง สามารถเรียนรู้ได้ แต่อาการ "สมาธิสั้น" เป็นอุปสรรค ทำให้เด็กไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ราบรื่นในชีวิต ไม่มีสมาธิต่อสิ่งต่างๆได้นาน ทำงานหรือทำกิจกรรมที่มอบหมายไม่สำเร็จ ไม่เรียบร้อย ขาดความรอบคอบต่อสิ่งที่มอบหมาย หุนหันพันแล่น ควบคุมอารมณ์ได้ไม่ดี หงุดหงิดง่ายเมื่อขัดใจ หรือต้องแก้งานที่ทำไปแล้วซ้ำหลายครั้งเพราะความใจร้อนทำให้งานนั้นไม่เรียบร้อยหรือผิดพลาด

.

.

ครอบครัวที่มีเด็กสมาธิสั้น ผลมักกระทบต่อพ่อแม่ผู้ปกครองผู้ดูแลโดยตรงและส่งผลต่อคนรอบข้างเมื่อต้องอยู่กับผู้อื่นหรือในที่สาธารณะ เด็กไม่สามารถควบคุมอารมณ์ หรือพฤติกรรมได้เหมาะสม เช่น มีพฤติกรรมไม่นิ่ง เดินไปหยิบของโดยไม่ได้รับอนุญาตเมื่อต้องการ หรือวิ่งเตลิดควบคุมตัวเองไม่ได้ต้องคอยเรียกคอยตามอยู่เสมอ บางคนมีพฤติกรรมเล่นแรงๆยับยั้งแรงของตัวเองต่อการเล่นกับผู้อื่นได้ไม่เหมาะสม ทำให้เพื่อนไม่อยากเล่นด้วยเพราะกลัวได้รับอันตราย ขาดการยับยั้งชั่งใจเรื่องการรอคอยอาจทำให้แย่งของหรือกระชากของจากผู้อื่น ซึ่งต้องคอยเตือนคอยบอกอยู่เสมอ

.

ข้อสังเกตุในอาการของเด็กสมาธิสั้นแต่ละช่วงวัย

.

1.ระยะ 2-3ปี

จะแสดงอาการไม่มีสมาธิ ไม่นิ่ง วิ่งซน อยากได้ของมักหุนหันพลันแล่น หรือยังรอคอยไม่ได้ ถ้าขัดใจไม่ได้สิ่งที่ต้องการมากๆ เด็กจะร้องไห้โวยวาย ทำลายของหรือทิ้งตัวลงไปนอนดิ้น

. 2. ระยะ 4 - 5 ปี จะแสดงอาการ หุนหันพลันแล่น พูดแทรกในสิ่งที่ตนเองต้องการ ควบคุมตัวเองต่อการรับผิดชอบงานไม่ได้ หรือทำได้สั้นๆ ถ้าต้องทำงานส่งหรือเขียนหนังสือหรืออ่านหนังสือ นั่งเขียนไม่เรียบร้อย เขียนไม่เสร็จ ทำงานได้ไม่ต่อเนื่อง ต่อรองก่อนลงมือทำ จะโวยวายขว้างปาของเมื่อต้องทำงานที่กำหนดให้หรืองานที่ไม่ชอบ

. 3. ระยะ 6-7 ปี จะแสดงอาการ ซน ไม่นิ่ง ยุกยิก ทำงานตามที่มอบหมายได้ โดยคอยกำกับคอยเตือนบ่อยครั้ง ทำงานไม่เรียบร้อย ไม่ทำตามกติการะหว่างขั้นตอนการทำแต่เป้าหมายคือทำงานให้เสร็จ มีเงื่อนไขข้อต่อรองก่อนที่จะลงมือทำ มักต้องการทำของตนก่อนเสมอ ลงมือทำสิ่งที่ตนสนใจก่อน ถึงจะยอมทำงานตามที่ตกลงไว้ แต่ผลลัพธ์ก็ยังไม่เรียบร้อย ทำด้วยความรีบเร่ง ใจร้อน

. .

จากบทความข้างต้น พอสรุปได้ว่า เด็กมีความสามารถในการ พูด ฟัง ทำตามได้ เหมือนกับเด็กปกติในวัยเดียวกัน แต่ติดที่ใจร้อนมาก ทำให้ ทำตามได้ เป็นบ้างครั้ง พูดตามได้ เป็นบ้างครั้งบางอารมณ์ ซนไม่นิ่ง วิ่งไปทั่ว เล่นแรง กะน้ำหนักในการเล่นกับคนอื่นไม่เป็น หากขัดใจ อาจแสดงออกด้วยการทำร้ายตัวเอง ทำลายของ

. .

การรักษาติดตามอาการจากแพทย์ เป็นเรื่องที่ดี หรือกรณีที่ได้รับยา ควรเข้ารับยาอย่างต่อเนื่องและรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง ไม่ควรหยุดยาหรือลดขนาดยาเอง หากมีข้อสงสัยเรื่องเกี่ยวกับการรับประทานยาควรปรึกษาแพทย์ การกินยาร่วมกับการส่งเสริมจะทำให้น้องนิ่งขึ้นและควบคุมอารมณ์หุนหุนพลันแล่น หงุดหงิดได้

. .

การได้รับการปรับพฤติกรรมและส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์และมีความรู้ความเข้าใจจะช่วยลดและควบคุมอาการสมาธิสั้นได้ เพื่อให้เริ่มเกิดการ ฟัง ลดความใจร้อน ลดความรุนแรงในการทำลายสิ่งของ สามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ซึ่งการดูแลต้องใช้ความต่อเนื่องและความเข้าใจ บอกซ้ำๆ บ่อยครั้ง เพื่อให้เด็กจำและเข้าใจของเหตุและผลในการทำพฤติกรรมดี เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการปรับพฤติกรรมและกระบวนการคิดที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง ควรเข้ารับการปรับพฤติกรรม กับผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อง1-2ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจและมีแนวทางการควบคุมอารมณ์ที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง

. .

ถ้าคิวที่นัดได้ ส่วนใหญ่ จะได้เดือนละ 1 ครั้ง เพราะคิวเต็มและแน่นมาก ทำกิจกรรมต่อเองที่บ้าน แบบนี้ได้ไหมคะ ครูภู่

. .

1 ครั้งต่อเดือน การติดตามอาการและพฤติกรรมอาจนานและทิ้งช่วงกว่าจะได้ต่อยอดกิจกรรมในครั้งถัดไป ซึ่งเด็กบางรายอาจจะมีพฤติกรรมใหม่เกิดขึ้นรวมทั้งพฤติกรรมเดิมที่มี การติดตามแก้ไขไม่ได้ทำในทันทีหรือระยะเวลาห่างมาก อาจทำให้เด็กมีอาการรุนแรงมากกว่าเดิมได้ค่ะ

.

.

👨‍👩‍👦ชวนกันมาช่วยน้องให้ดีขึ้นทุกสัปดาห์ที่เรียนด้วยกันนะคะ

.

.

👨‍👩‍👦คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง สนใจให้เราดูแลพัฒนาการของลูกน้อย โดยผู้เชี่ยวชาญ ติดต่อสอบถามได้นะคะ บ้านครูภู่ของเรายินดีดูแลด้วยใจค่ะ

.

.

🏡บ้านครูภู่: ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการดูแลส่งเสริมพัฒนาการเด็กยาวนานกว่า 10 ปี

.

.

😧หากลูกติดปัญหาเหล่านี้มาหาเรานะคะ : ไม่พูด ไม่มองหน้า ไม่สบตา ไม่ชี้ชวน เล่นคนเดียว  ต่อต้าน รอคอยไม่ได้ ไม่มีสมาธิ ทำงานไม่สำเร็จ อดทนต่ำ หงุดหงิดง่าย  โมโหร้าย😡 พฤติกรรมที่แสดงออกต่อผู้อื่นไม่เหมาะสม แกล้งคนอื่น ไม่รับรู้อารมณ์ความรู้สึกคนอื่น ไม่ฟังคำสั่ง เอาแต่ใจ ไม่ยืดหยุ่น เล่นแรง ไม่แบ่งของ แย่งของ Baan Khu Phu บ้านครูภู่ ยินดีให้คำปรึกษาและการดูแลทั้งเด็กและครอบครัว แล้วคุณพ่อคุณแม่จะไม่เดินลำพัง เราจะจับมือไปด้วยกัน😊

.

.

ปรึกษาและติดต่อสอบถามได้ทาง      


1. Inbox      


2. Tel 093-555-2649 (ครูภู่)    


   3. Line OA : @baankhuphu

หรือคลิกลิงก์ https://lin.ee/z6AjDhC

.

.

#บ้านครูภู่



#พูดช้า #ไม่พูด #ภาษาการ์ตูน


#ออทิสติก #autistic #ASD


#พัฒนาการช้ารอบด้าน #GDD #ไม่เขียน


#Selfesteem #ทักษะทางสังคม


#game #boardgame #บอร์ดเกม #เกมสลับตา


#แก้ปัญหาติดงอ #ลดพฤติกรรมก้าวร้าว #ขาดสมาธ


#ทำงานไม่สำเร็จไม่จดจ่องาน

765 views0 comments

Comments


bottom of page