ยกตัวอย่างเคส
.
.
เคส 3 ขวบ 8 เดือน เด็กมาด้วยปัญหาพูดช้า ละ มีพฤติกรรมกระตุ้นตัวเองเกือบตลอดเวลา มองหน้าสบตาน้อย ไม่จ้องมอง ซนมาก ไม่นิ่ง สื่อสารด้วยท่าทาง/ภาษากาย เช่นต้องการของจะจูงให้ไปหยิบให้ หรือ เด็กหยิบเองบ้าง ยังไม่เข้าใจภาษาพูดเท่าที่ควร ทำตามคำสั่งต้องคอยชี้บอกร่วมด้วย
.
.
ครั้งแรก เด็กมีพฤติกรรมกระตุ้นตัวเองมาก ไม่นิ่ง คอยเตือนตลอดเวลา สื่อสารได้น้อย พูดได้บางคำไม่ถึง 10 คำหรือ 10 ความหมาย ยังไม่เข้าใจความหมายของคำอย่างชัดเจน มีความสนใจเฉพาะตัว การช่วยเหลือตัวเองได้บางส่วน ต้องกระตุ้นความสนใจบอกซ้ำๆ หรือเลียนแบบทำตามได้บ้าง
.
.
ครั้งที่ 2 เด็กเริ่มออกเสียงตามได้บางคำ ทำตามคำสั่งยังต้องบอกซ้ำๆ คอยชี้และพูดบอกร่วมด้วย เริ่มมีพูดตามบ้างบางคำ มีพฤติกรรมกระคุ้นตัวเองมาก หยุดเมื่อเตือนบ้าง แต่ยังไม่นานจะกลับมามีพฤติกรรมซ้ำ ต้องคอยเตือนเสมอ การทำตามคำสั่งยังต้องคอยบอกซ้ำๆ สมาธิต่อกิจกรรมต้องคอยกระตุ้นใกล้ชิดเพื่อให้ทำงานที่จัดให้สำเร็จ
.
.
ครั้งที่ 3 เริ่มนิ่งขึ้น ฟังคำสั่งทำตามง่ายๆได้ พูดตามยังไม่ชัดเจน เริ่มพูดได้เป็นคำๆ ได้ดีขึ้นโดยคอยกระตุ้น ยังมีพฤติกรรมกระตุ้นตัวเองเป็นระยะ เริ่มมองหน้าสบตาและอารมณ์ดีขึ้น เริ่มเข้าใจกติกาและรอคอยได้ดีขึ้น
.
1 เดือนผ่านไป เริ่มพูดออกเสียงได้ 1-2 คำได้บ่อยครั้ง ชี้บอกความต้องการได้ดีขึ้น รอคอยได้นานขึ้น เข้าใจกติกาแต่ยังต้องคอยเตือน กิจกรรมต่างๆได้เองจนสำเร็จดีขึ้น พฤติกรรมกระตุ้นตัวเองลงได้บ้าง
.
2 เดือนผ่านไปเริ่มพูด 2-3 คำติดกันได้ ยังติดปัญหาการออกเสียงไม่ชัดเจน การชี้บอกความต้องการและการพูดออกเสียงบอกความต้องการได้ดีขึ้นยังเป็นคำๆ หรือ 2 คำติดกัน ยังไม่นิ่งยังต้องคอยปรับเรื่องสมาธิและความร่วมมือ การทำกิจกรรมต่างๆ ทำได้นานขึ้นและหลากหลายมากขึ้น สามารถต่อรองการทำตามกติกาและมีอารมณ์ดีร่าเริงขึ้น
.
3 เดือนผ่านไป เด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น พูดสื่อสารได้ 2 -3 คำติดกันชัดเจนขึ้น พฤติกรรมกระตุ้นตัวเองลดลง แต่ยังปัญหาไม่นิ่ง ยังต้องปรับสมาธิและการรอคอยอยู่เสมอ เด็กช่วยเหลือตัวเองได้ดีขึ้น ทำกิจกรรมต่างๆได้ด้วยตัวเอง จัดกิจกรรมง่ายๆด้วยตัวเองได้
.
เมื่อเราเห็นปัญหาเร็วและชัดเจนเป็นเรื่องไม่ยากที่จะสามารถช่วยเหลือให้เด็กๆกลับมามีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ นอกจากนี้หัวใจสำคัญคือครอบครัวที่ตัองดูแลเอาใจใส่และปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเพื่อดูแลเด็กต่อเนื่องที่บ้าน นอกจากจะทำให้เด็กจะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นยังเป็นการเพิ่มทักษะให้กับตัวเองด้วย
.
.
👨👩👦ชวนกันมาช่วยน้องให้ดีขึ้นทุกสัปดาห์ที่เรียนด้วยกันนะคะ
.
.
👨👩👦คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง สนใจให้เราดูแลพัฒนาการของลูกน้อย โดยผู้เชี่ยวชาญ ติดต่อสอบถามได้นะคะ บ้านครูภู่ของเรายินดีดูแลด้วยใจค่ะ
.
.
บ้านครูภู่: ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการดูแลส่งเสริมพัฒนาการเด็กยาวนานกว่า 10 ปี
.
.
😧หากลูกติดปัญหาเหล่านี้มาหาเรานะคะ : ไม่พูด ไม่มองหน้า ไม่สบตา ไม่ชี้ชวน เล่นคนเดียว ต่อต้าน รอคอยไม่ได้ ไม่มีสมาธิ ทำงานไม่สำเร็จ อดทนต่ำ หงุดหงิดง่าย โมโหร้าย😡 พฤติกรรมที่แสดงออกต่อผู้อื่นไม่เหมาะสม แกล้งคนอื่น ไม่รับรู้อารมณ์ความรู้สึกคนอื่น ไม่ฟังคำสั่ง เอาแต่ใจ ไม่ยืดหยุ่น เล่นแรง ไม่แบ่งของ แย่งของ Baan Khu Phu บ้านครูภู่ ยินดีให้คำปรึกษาและการดูแลทั้งเด็กและครอบครัว แล้วคุณพ่อคุณแม่จะไม่เดินลำพัง เราจะจับมือไปด้วยกัน😊
.
.
ปรึกษาและติดต่อสอบถามได้ทาง
1. Inbox
2. Tel 093-555-2649 (ครูภู่)
3. Line OA : @baankhuphu
หรือคลิกลิงก์ https://lin.ee/z6AjDhC
.
.
#บ้านครูภู่
#Selfesteem #ทักษะทางสังคม
#game #boardgame #บอร์ดเกม #เกมสลับตา
#ทำงานไม่สำเร็จไม่จดจ่องาน
Comments