top of page
Search

สงกรานต์กับเด็กพิเศษ

ชมคลิปเต็มได้ที่นี่



....


🧩 สงกรานต์ของเด็กพิเศษ

เล่นน้ำ? หรือเล่นอยู่คนเดียว

💦 สาดน้ำใส่คนอื่น โดยไม่รู้ว่าแรงไป / คนไม่เล่น


เด็กอาจสาดใส่คนแก่ คนถือของ หรือคนที่ไม่อยากเล่น


พ่อแม่ห้ามแล้ว แต่เหมือนไม่ได้ยิน


........

เด็กอาจแยกไม่ออกระหว่าง “การเล่น” กับ “การละเมิดพื้นที่คนอื่น”

เสียงเพลง + ความสนุก + ขาดการรับรู้อารมณ์ผู้อื่น

= เด็กหลุดจากโลกจริงไปอยู่ในภาวะ “สนุกโดยไม่รับรู้คนรอบข้าง”


นี่คืออาการทั่วไปของเด็กพิเศษที่ ดูเหมือนกำลังสนุก

แต่จริงๆ แล้วเขาอาจไม่ได้รู้ว่าใครคือใครในเทศกาลนี้เลย


🎶 เต้นตามเพลงอย่างต่อเนื่อง แม้เพลงเปลี่ยน…


จาก Baby Shark เป็น เพลงสากล เพลงป๊อป หรือหมอลำ เด็กยังโยกแบบเดิม เต้นวนซ้ำเดิม ไม่เปลี่ยนท่าตามจังหวะเพลงใหม่


นี่คือพฤติกรรมซ้ำแบบ Stimming ร่วมกับ Earworm

สมองยังติดกับเพลงเก่า (ที่ติดอยู่ในหัว) แม้เพลงใหม่จะเปิดแล้ว เด็กจึงยัง “สนุกกับของเดิม” ไม่ได้เล่นกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า


.....

🚨 และที่แย่กว่านั้นคือ…


ตอนเลิกเล่น เด็กจะไม่เลิกจะเล่นต่อ


พ่อแม่ชวนกลับบ้าน ยังเฉย


เพื่อนๆๆกลับบ้านแล้ว ยังไม่มองตาม


เด็กยังหมุนตัว เต้น ยิ้ม ร้องเพลงในหัว

จนต้อง ปิดเพลง ปิดน้ำ เด็กถึงจะ “รับรู้ว่าเลิกแล้ว”

และสุดท้าย… ร้องไห้จนหลับ ถึงจะพากลับบ้านได้


💡 สิ่งที่อยากให้พ่อแม่สังเกต

ถ้าลูกของเรา...


ไม่มองคน


ไม่ฟังเสียงเรียก


ไม่เปลี่ยนพฤติกรรมตามสถานการณ์


แสดงว่าเขา ยังเล่นอยู่ในหัวคนเดียว ไม่ใช่ในโลกจริง


✅ เทศกาลแบบนี้คือโอกาสเพื่อไว้สังเกตลูก ไม่ใช่แค่ “ลูกเล่นน้ำได้ไหม” แต่ต้องดูว่า เขาเล่นกับคน หรือเล่นคนเดียวในโลกตัวเอง


บ้านครูภู่ ประสบการณ์ในการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก เด็กพิเศษ ตั้งแต่เด็กถึงวัยรุ่น ประสบการณ์มากกว่า 13 ปี

.....


ทักแชทเพื่อปรึกษาเรานะคะ

ติดต่อ @baankhuphu หรือ โทร 0935552649


....

#สงกรานต์ของเด็กพิเศษ

#สงสัยลูกเป็นเด็กพิเศษหรือไม่

#เล่นน้ำอย่างปลอดภัย

#บ้านครูภู่





 
 
 

Comentarios


bottom of page