หลายบ้านกำลังประสบปัญหานี้ เหตุการณ์ที่เกิด เช่น ลูกทะเลาะกัน เรื่องแย่งของกัน ไม่รอคอย แกล้งกัน มักจะมีเสียงร้องไห้อยู่บ่อยครั้งในแต่ละวัน หรือเสียงกรี๊ดไม่พอใจ อยากได้ของที่ตัวเองต้องการแล้วไม่ได้ เมื่อต้องให้รอคอย ให้ทำตามคำสั่งและวางเงื่อนไข หรือถูกขัดใจ เด็กมักจะร้องไห้ ต่อรอง ต่อต้าน ทิ้งตัว เป็นเวลานาน หรือกรี๊ดเสียงดังลั่น สาเหตุจากการที่สื่อสารไม่เข้าใจเป็นสิ่งสำคัญ ยังรอคอยไม่เป็น ใจร้อนขาดความยับยั้งอีกด้วย
บ่อยครั้งที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องเข้าไปจัดการสถานการณ์แบบนี้ และมักเกิดขึ้นซ้ำๆสถานการณ์เดิมทุกๆวัน แม้จะมีการเตือนหรือการลงโทษไปแล้ว แต่เด็กๆมักจะลืมสิ่งที่ตกลงไว้กับพ่อแม่เสมอ และเมื่อต้องการสิ่งของเหล่านั้นมักจะทำพฤติกรรมเดิมซ้ำอีก
วันนี้เรามีวิธีจัดการเบื้องต้นมาฝากค่ะ
1. สร้างกติการะหว่างพี่กับน้อง ให้เข้าก่อนโดยการสื่อสารทั้งภาษาพูดและภาษาท่าทาง ทำซ้ำๆให้เด็กจดจำ จนสามารถจำได้ เช่น การไม่ให้แย่งของกัน การรอคอยให้เป็น และส่งเสริมการเล่นด้วยกันอาจจะเป็นการเล่นสลับตากัน เพื่อเรียนรู้การรอคอยเช่น ผลัดกันเล่น ไม่ควรใช้ระยะเวลานานในการรอนานเกินไป แต่ให้เรียนรู้การสลับตากันสลับคิวกัน
2. เมื่อเกิดการยื้อแย่งของและเกิดการทะเลาะกัน หรือผลักกัน ตีกัน พ่อแม่ ผู้ปกครองควรเป็นตัวกลางในการจัดการสถานการณ์นั้น การเตือนโดยใช้น้ำเสียงที่ชัดเจน เพื่อให้เด็กหยุดพฤติกรรม หากยังไม่ดีขึ้น สามารถเก็บสิ่งของนั้นไว้กับพ่อแม่ ผู้ปกครองชั่วคราวแล้วตักเตือนถ้ามีพฤติกรรมดีจะคืนของให้ อีกทั้งควรเน้นเรื่องแบ่งปัน รอคอย เล่นด้วยกัน รวมถึงการขอโทษ ให้อภัย และขอบคุณ
3. ควรให้เด็กเรียนรู้การรอคอย การอดทน การขอและการเสียสละซึ่งกันและกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการทะเลาะหรือการแย่งของกัน พี่ควรรู้จักขอของจากน้องและน้องควรรู้จักขอของจากพี่
หรือพี่และน้องควรรู้จักเสียสละแบ่งของซึ่งกันและกันเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการทะเลาะกันและสามารถเล่นด้วยกันได้นาน โดยแนะนำวิธีการขอและขอบคุณสม่ำเสมอ
4.เมื่อยังมีการแย่งหรือทะเลาะกันซ้ำ หลังจากทั้ง 2 คน ได้ตกลงกติกากันไปแล้ว สามารถงดสิ่งที่เป็นรางวัลไว้ชั่วคราวได้โดยทำเท่ากันทั้ง 2 คน เพื่อเรียนรู้การรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้นร่วมกัน ในกรณีที่ทั้งสองคนยังทำพฤติกรรมไม่เหมาะสมซ้ำอีก
5.ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้การมีความสามัคคีระหว่างพี่น้องการช่วยเหลือกัน เช่น เก็บของช่วยกัน หรือแบ่งของเล่น ขนมให้กัน เพื่อให้เด็กเกิดความรักความสามัคคีระหว่างพี่น้องสร้างความกลมเกลียว ลดเรื่องทะเลาะเบาะแว้งเรื่องแย่งของกัน เมื่อพ่อแม่ ผู้ปกครองเจอเหตุการณ์ที่เด็กทำดีและทำได้ควรกล่าวคำชื่นชม
6. พ่อแม่ ผู้ปกครองควรใส่ใจดูแล คอยเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีในการทำกิจกรรม สร้างความเข้าใจที่ดีต่อกันโดยผ่านการแสดงออก เพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีให้เกิดขึ้นส่งผลให้เกิดความเข้าใจในสิ่งที่ผู้อื่นแสดงออก และผู้อื่นเข้าใจในตัวเด็กมากขึ้นด้วย
7. และเมื่อลูกยอมรับว่าทำพฤติกรรมไม่เหมาะสมในการแย่งของหรือทะเลาะกัน พ่อแม่ผู้ปกครองควรให้อภัยลูกๆและให้กำลังใจในการทำพฤติกรรมที่ถูกต้อง เพื่อให้พฤติกรรมที่เหมาะสมให้คงอยู่
8. การปลูกฝังการรอคอย ควบคุมอารมณ์ แบ่งปัน ช่วยเหลือกัน เล่นด้วยกันให้กับเด็กๆ ในบ้าน ช่วยสร้างความรักความสามัคคี ความเข้าใจผู้อื่น เพื่อลดการทะเลาะ แย่งของ ช่วยให้เด็กมีพฤติกรรมที่ดีและคงอยู่ระยะยาว 🌄 จะเห็นได้ว่าทุกระยะนั้นมีความสำคัญ หากเด็กได้รับการดูแลจัดการกับอารมณ์ให้เหมาะสม และได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง จะช่วยสร้างพื้นฐานการพัฒนาด้านอารมณ์ที่เหมาะสมให้เด็กได้
.
.
ชวนกันมาช่วยน้องให้ดีขึ้นทุกสัปดาห์ที่เรียนด้วยกันนะคะ
.
.
👨👩👦คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ปกครอง สนใจให้เราดูแลพัฒนาการของลูกน้อย โดยผู้เชี่ยวชาญ ติดต่อสอบถามได้นะคะ บ้านครูภู่ของเรายินดีดูแลด้วยใจค่ะ
.
.
บ้านครูภู่: ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในการดูแลส่งเสริมพัฒนาการเด็กยาวนานกว่า 10 ปี
.
.
😧หากลูกติดปัญหาเหล่านี้มาหาเรานะคะ : ไม่พูด ไม่มองหน้า ไม่สบตา ไม่ชี้ชวน เล่นคนเดียว ต่อต้าน รอคอยไม่ได้ ไม่มีสมาธิ ทำงานไม่สำเร็จ อดทนต่ำ หงุดหงิดง่าย โมโหร้าย😡 พฤติกรรมที่แสดงออกต่อผู้อื่นไม่เหมาะสม แกล้งคนอื่น ไม่รับรู้อารมณ์ความรู้สึกคนอื่น ไม่ฟังคำสั่ง เอาแต่ใจ ไม่ยืดหยุ่น เล่นแรง ไม่แบ่งของ แย่งของ Baan Khu Phu บ้านครูภู่ ยินดีให้คำปรึกษาและการดูแลทั้งเด็กและครอบครัว แล้วคุณพ่อคุณแม่จะไม่เดินลำพัง เราจะจับมือไปด้วยกัน😊
.
.
ปรึกษาและติดต่อสอบถามได้ทาง
1. Inbox
2. Tel 093-555-2649 (ครูภู่)
3. Line OA : @baankhuphu
หรือคลิกลิงก์ https://lin.ee/z6AjDhC
.
.
#บ้านครูภู่
#Selfesteem #ทักษะทางสังคม
#game #boardgame #บอร์ดเกม #เกมสลับตา
#ทำงานไม่สำเร็จไม่จดจ่องาน
Comentarios